วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการใช้งาน Photoshop 7. เบื้องต้น



วิธีการใช้งาน Photoshop 7. เบื้องต้น







วิธีการใช้งาน Photoshop 7. เบื้องต้น

การเข้าสู่โปรแกรม Photoshop เมื่อเราทำการติดตั้งโปรแกรม Photoshop เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้โดยวิธีการดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start >Program > Adobe Photoshop 7.0 เพื่อเข้าสู่โปรแกรม
2. รอสักครู่ โปรแกรมจะถูกเปิดขึ้นมา และพร้อมสำหรับการทำงาน
รู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม
แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือ แถบที่รวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้งานโปรแกรม
แถบกำหนดรูปแบบของเครื่องมือ (Tool Option Bar) คือแถบตัวเลือกของเครื่องมือซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อเลือกใช้เครื่องมืออย่างหนึ่งอย่างใดในกล่องเครื่องมือ (Toolbox) มีเพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น
กล่องเครื่องมือ (Toolbox) คือ กล่องเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกและแก้ไข
พาเลท (Palette) คือหน้าต่างรวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือที่ช่วยในการปรับแต่งภาพ
แถบสถานะ (Status Bar) ใช้แสดงข้อความที่เป็นประโยชน์ในขณะทำงาน เช่น การเซฟ ขนาดไฟล์
ส่วนระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์





2. รอสักครู่ โปรแกรมจะถูกเปิดขึ้นมา และพร้อมสำหรับการทำงาน
รู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม
แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือ แถบที่รวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้งานโปรแกรม
แถบกำหนดรูปแบบของเครื่องมือ (Tool Option Bar) คือแถบตัวเลือกของเครื่องมือซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อเลือกใช้เครื่องมืออย่างหนึ่งอย่างใดในกล่องเครื่องมือ (Toolbox) มีเพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น
กล่องเครื่องมือ (Toolbox) คือ กล่องเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกและแก้ไข
พาเลท (Palette) คือหน้าต่างรวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือที่ช่วยในการปรับแต่งภาพ
แถบสถานะ (Status Bar) ใช้แสดงข้อความที่เป็นประโยชน์ในขณะทำงาน เช่น การเซฟ ขนาดไฟล์









การกำหนดขนาดงานใหม่ (New)

การเริ่มการทำงานใหม่ ต้องกำหนดขนาดดังนี้

1. คลิกเมนู File > New เพื่อกำหนดขนาดงานใหม่

2. ตั้งชื่อไฟล์ ลงในช่อง Name

3. กำหนดหน่วยของขนาดงาน

Pixels       =        พิกเซล
Cm           =       เซนติเมตร
Inches      =          นิ้ว


4. กำหนดค่าความกว้างความสูงของงาน  

Width        =        ความกว้าง
Height       =        ความสูง

5. กำหนดค่าความละเอียดในการประมวลผลของงาน

6. กำหนดโหมดสีในการทำงาน

7. เลือกการแสดงพื้นหลังของงาน

White      =          กำหนดให้พื้นเป็นสีขาว
Background Color      =      กำหนดให้พื้นเป็นสีเดียวกับสี Background
Transparent                =       กำหนดให้พื้นมีลักษณะโปร่งใส





























































































































































วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

แนะนำการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS7


คู่มือการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS7






โปรแกรมตกแต่งภาพชื่อดัง Adobe PhotoShop 7.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมรุ่นเดอะ เรียกได้ว่าคงไม่มีใคร ไม่รู้จัก ในเวลาที่ผ่านมา ทางค่ายอโดบี ได้มีการอัพเกรดเวอร์ชันใหม่ๆ มาโดยตลอด และมีการเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือใหม่เพื่อรองรับ ความต้องการของศิลปินดิจิตอลที่ไร้ขีดจำกัดทั้งหลาย เรามาเริ่มดูกันตั้งแต่เวอร์ชัน 4 ได้มีการ เพิ่มเครื่องมือ Layer และ Action ในเวอร์ชัน 5 มีการเพิ่มแถบ History Palette และ Layer Style พอมาถึงเวอร์ชัน 6 ก็ได้มีการเพิ่มเครื่องมือวาดรูปต่างๆ ลงไป และในปัจจุบันทางค่ายอโดบี เพิ่งจะประกาศตัวเวอร์ชันใหม่คือ Photoshop CS (ทั้งสำหรับเครื่อง Mac และ Windows แต่ประกาศเวอร์ชันสำหรับ Mac มาก่อนครับ ในส่วนของความสามารถ ทั้ง Mac และ Windows จะเหมือนกัน ) ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ครับ


ความสามารถใหม่ของ Photoshop 7.0 มีเพิ่มขึ้นหลายๆ อย่างทีเดียว แต่ถ้าดูภาพรวมยังไม่อาจจะเรียกได้ว่า การอัพเกรดครั้งใหญ่อะไร เพราะเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นหลายๆ ตัว เราอาจจะเห็นหรือเคยใช้จากโปรแกรมตกแต่งภาพอื่นๆ แล้ว เช่น การ สร้างลาย Pattern , เครื่องมือ Brush ที่วาดรูปภาพเป็นจุดๆ หรือใส่ลวดลายต่างๆ ได้ เหมือนในโปรแกรม Painter หรือ Paint Shop Pro แต่ก็ไม่ใช่ว่าในเวอร์ชันนี้จะไม่มีทีเด็ดนะครับ มีแน่นอน! เพื่อไม่ให้เสียชื่อสุดยอด โปรแกรมตกแต่งภาพ ทีเด็ดที่เพิ่มมาก็คือเครื่องมือ Healing Brush Tool และเครื่องมือ Patch Tool จะเป็นเครื่องมือสำหรับทำอะไร และเด็ดแค่ไหน จะกล่าวในต่อไปนะครับ



Healing Brush Tool / Patch Tool


เครื่องมือ Healing Brush Tool ซึ่งถ้าแปลตรงๆ ก็คือ แปรงสำหรับแก้ไขรูปภาพ ความสามารถของเครื่องมือตัวนี้ก็คือช่วยทำความสะอาดรูปภาพ ช่วยลบรอยสกปรก รอยผง หรือ เม็ดสกรีนต่างๆ ที่พบในรูปทั่วไป โดยหลักการของเครื่องมือตัวนี้ก็คือการลอกลายรูปภาพใกล้เคียงโดยที่โปรแกรม จะทำการปรับค่าแสง และลวดลายให้อัตโนมัติ


เครื่องมือ Patch Tool เป็นเครื่องมือเลือกบริเวณภาพ " Selection " โดยหลักการเครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเลือกบริเวณรูปภาพที่มีปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น โปรแกรมจะปรับค่าแสง และ สี บริเวณที่เลือกให้อัตโนมัติด้วย
จากการทดลองใช้งานพบว่าเครื่องมือ Healing Brush Tool / Patch Tool ช่วยให้เราลบรอย หรือ ลายภาพที่ไม่ต้องการได้อย่างง่ายๆ และรวดเร็วมากครับ จากภาพตัวอย่างจะเป็นการลบรอยเหี่ยวย่น ด้วยการคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้งก็สำเร็จ ช่างยอดเยี่ยมจริงๆ เพราะเดิมที่เวลาเราจะลบรอยภาพต่างๆ ต้องมานั่งลอก Selection ตำแหน่งที่ต้องการ แล้วค่อยลอกลายทับไปอีกที... เสียเวลานานมาก ทีนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะไรแล้ว




File Browser

หลังจากที่ปล่อยให้โปรแกรมจัดการภาพอย่าง ACDSee วาดลวดลายมานาน มาคราวนี้พี่ใหญ่อย่าง Photoshop ก็ขอลงสนามบ้าง ด้วยการเพิ่มระบบจัดการภาพเข้าไป กับโปรแกรม Photoshop เลย ชื่อว่า File Browser ซึ่งผมคิดว่าทางค่ายอโดบีฉลาดมากที่ทำเช่นนี้ เพราะเป็นการดึงผู้ใช้ให้กลับมาใช้ Photoshop โดยไม่ต้องไปเปิด โปรแกรมอื่นให้ยุ่งยาก ด้วยความสามารถในการจัดการที่เหนือกว่า ACDSee อีกก็คือ เราสามารถใส่ข้อมูลรูปภาพได้มากกว่า สามารถปรับแต่ง และหมุนรุปภาพได้ และสามารถจัดอันดับรูปภาพได้อีกด้วย









ความสามารถเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เพิ่มมาในเวอร์ชัน 7.0 นี้ มีอีกพอสมควรเลยครับ ที่เห็นชัดเจนก็คงจะเป็นส่วนของหน้าตาโปรแกรมนะครับ มีการปรับเปลี่ยนปุ่ม และไอคอนต่างๆให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น คล้ายกับโปรแกรม Illustrator 10 คิดว่าโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ ของค่าย อโดบีคงจะปรับหน้าตาให้เป็นแบบนี้ทั้งหมด และในเวอร์ชันนี้เราสามารถปรับแต่ง เปลี่ยนแปลงหน้าตาของโปรแกรมให้ตรงตามที่เราต้องการได้อีกด้วย น่าใช้มากครับ เพราะเท่าที่ผมใช้ก็จะหงุดหงิดกับเครื่องมือ บางตำแหน่ง คราวนี้ผมก็สามารถแก้ใขตามสไตล์ผมได้เลย
ส่วนความสามารถอื่นๆ ก็มีดังนี้ครับ


เครื่องมือ Brush Presets


เครื่องมือตัวนี้จะคล้ายกับเครื่องมือ Brush ใน Painter หรือ Paint Shop Pro เป็นการเพิ่งลวดลายให้กับแปรง เราสามารถเลือกแปลงรูปแบบต่างๆ ได้เยอะมาก เช่น แอร์บรัช พู่กัน ลาย texture ฯลฯ




เครื่องมือ Pattern Maker

เป็นเครืองมือสร้างลวดลายภาพ โดยการเลือกส่วนของภาพที่เราต้องการ และโปรแกรมจะลอกลายภาพนั้นๆ ให้เป็นลายพื้นๆ






เครื่องมือ Liquify

เป็นเครื่องมือใส่เอฟเฟ็กต์ให้รูปภาพ เช่นการหมุน ซูม บิดภาพ






Secure Images

เป็นระบบช่วยในการรักษาความปลอดภัย เราสามารถใส่ Password ให้กับภาพงานของเรา ในฟอร์แมต Acrobat PDF ได้ ซึ่งผู้ที่จะเปิดรูปภาพได้จะต้องมี Password เท่านั้น

Check Spelling

เป็นระบบตรวจสอบตัวสะกด และเราสามารถค้นหา และแทนที่คำที่ต้องการได้ทันที

Integrated with other application

เป็นระบบที่ช่วยในการใช้งานโปรแกรม Photoshop ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ในค่ายอโดบี เช่นโปรแกรม Illustrator , Golive , Altercast ทำให้เราสามารถทำงานได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น



Picture Package
ช่วยให้เราพิมพ์ภาพหลายๆ ภาพลงบนกระดาษแผ่นเดียว ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น




























































การใช้โปรแกรม Photoshop CS6 intermediate



Photoshop CS6 intermediate






การใช้เครื่องมือและเทคนิค

รูปแบบ Layer Style
การปรับแต่งเลเยอร์ด้วยรูปแบบต่างๆ ของเลเยอร์ หรือ ที่เรียกว่า Layer Style นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
แต่ละแบบเมื่อนำมาใช้ในการปรับแต่งภาพแล้วจะทำให้ภาพที่ออกมาดูแปลกตา และสวยงามอย่างเหลือเชื่อ แต่ละภาพจะใช้ Laye Style ตัวเดียว หรือหลายตัวรวมกัน ก็แล้วแต่ความต้องการในการแต่งภาพ
ของแต่ละภาพ หรือ ผู้แต่ง ไม่กำหนดตายตัว




Blending Option : ส่วนนี้เป็นส่วนแรกที่ต้องทำความรู้จัก เพราะ Layer Style แต่ละแบบจะถูกควบคุมด้วยส่วนนี้อีกครั้งหนึ่ง Option การตั้งค่าของ Blending Option และ Layer Style แต่ละแบบ ได้รวบรวมไว้ที่ด้านล่างให้แล้ว ต้องการใช้ตัวใหน ก็ให้ดูจากรายการเหล่านี้แล้วนำมาใช้ปรับแต่งภาพ

Option
ต่างๆ ของ Blending and Layer Style

Blend Mode = ใช้สำหรับตั้่งค่า Blending ให้กับภาพ
Opacity = ปรับค่าความทึบแสง และ เงา กระทบทุกส่วนของภาพ
Angle  = ปรับมุมของแสง หรือ เงา ที่มีผลกับภาพ (90 องศา ถ้าเปรียบเทียบกับนาฬิกา จะเท่ากับ  12 นาฬิกา)
Fill Opacity = การปรับค่าความทึบแสง หรือ เงา แต่จะไม่กระทบถึง ส่วนที่เป็น Layer Style
Knockout = มีตัวเลือกให้สามแบบ None, Shallow, Deep หน้าที่ของมันคือการทำให้มองทะลุลงไปยังเลเยอร์ล่างได้ ทั้งนี้การใช้งานจะต้องร่วมกับการปรับ Fill Opacity ด้วย
Use Global Light = แสง และ เงา ที่มีผลเหมือนกันกับทุก Layer Style (ใช้กับ Drop Shadow, Inner Shadow, Bevel & Emboss)
Distance = ระยะของแสง หรือ เงา
Chokes = ปรับความชัด ความเข้ม ของ แสง หรือ เงา
Spread = ปรับความชัด ความเข้ม ของ แสง หรือ เงา
Size = ขนาดความเบลอ ความอ่อนโยน ของแสง หรือ เงา
Contour = เส้นแสดงลักษณะรูปร่าง ของ แสง หรือ เงา (รูปภาพที่แสดงในไอคอนของ Contour หมายถึงลักษณะกร๊าฟ ส่วนที่เป็นสีเทา คือ ส่วนของเส้นกร๊าฟ ส่วนที่เป็นสีขาว เป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือเส้นกร๊าฟ ด้านซ้ายแสดงส่วนที่อยู่นอกเหนือของ Effect ด้านขวาแสดงส่วนที่อยู่ในส่วนของ Effect ด้านล่างเป็นส่วนของ Transparency ด้านบนเป็นส่วนของ Opacity
Anti-aliased = ความเรียบ ของ แสง หรือ เงา
Noise = เป็นการทำให้ แสง หรือ เงา คล้ายกับการพ่นสเปรย์
Layer Knocks Out Drop Shadow = ถ้าไม่เลือกออปชั่นนี้ จะทำให้การปรับแต่งของเลเยอร์นั้นแสดงเฉพาะส่วนที่เป็น Drop Shadow เท่านั้น
Tecnique = ใช้ควบคุม ความอ่อนโยน หรือ ความกระด้าง ของ แสง หรือ เงา
Range = ความกว้างของ เส้นแสดงลักษณะรูปร่าง (Contour)
Source = ส่วนที่เริ่มแสดง แสง หรือ เงา
Gross Contour = การปรับที่มีผลต่อความส่องสว่าง หรือ Luminosity
Depth = ความลึกของ แสง และ เงา
Direction = ทิศทางการแสดงผล ประกอบด้วย Up คือ แสง และ เงา จะส่องจากล่างขึ้นบน Down แสดงกลับกัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับมุม (Angle) ของ แสง และ เงา ที่ตั้งค่าไว้ด้วย
Soften = ปรับค่าความอ่อนโยนในการแสดง
Altitude = ตำแหน่งความสูงของ แสง และ เงา ตำแหน่งยิ่งสูง แสง และ เงา ก็จะยิ่งน้อย
Highlight Mode = ค่า Blend Mode ในส่วนของแสง
Shadow Mode = ค่า Blend Mode ในส่วนของเงา
Position = ตำแหน่งการแสดงผล
Fill Type = ประเภทที่จะเติมให้กับภาพ เช่น เติม สี Gradient หรือ Pattern
Color = สีที่จะเติม
Gradient = การเติมสีแบบการไล่สี
Pattern = การเติมภาพด้วยรูปแบบ Pattern
Texture = คือการใส่ Pattern
Scale = ขนาดของสี
Make Default = การตั้งค่าการปรับ Layer Style แต่ละแบบให้เป็นค่าเริ่มต้น
Reset to Default = การตั้งค่าใหม่สำหรับค่า  Layer Style ที่มีการเปลี่ยนแปลง กลับไปใช้ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมตั้งไว้
Style = รูปแบบการแสดงของ Bevel and Emboss มีด้วยกันหลายแบบ
Inner Bevel = แสดงจากขอบเข้าสู่ด้านใน
Outer Bevel = แสดงจากขอบออกสู่ด้านนอก
Emboss = แบ่งการแสดงระหว่างด้านใน และ ด้านนอก ฝั่งละ 50%
Pillow Emboss = แสดงผลจากรูปแบบของ Emboss แต่จะะแสดงโดย แสง และ เงา ส่วนละ 50% ในขอบเดียวกัน
Stroke Emboss = จะมีผลต่อเมื่อรูปนั้นมีการใส่ Stroke
คีย์ลัดของ Layer Style ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl + ตัวเลข
Ctrl + 0 = Stroke
Ctrl + 1 = Drop Shadow
Ctrl + 2 = Inner Shadow
Ctrl + 3= Outer Glow
Ctrl + 4 = Inner Glow
Ctrl + 5 = Bevel&Emboss
Ctrl + 6 = Satin
Ctrl + 7 = Color Overlay
Ctrl + 8 = Gradient Overlay
Ctrl + 9 = Pattern Overlay

Inner Shadow =
การเพิ่มเงาให้กับภาพ ลักษณะของเงาจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายในของภาพ
Drop Shadow = การเพิ่มเงาให้กับภาพ ลักษณะของเงาจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายนอกของภาพ
Bevel and Emboss = การเพิ่มระดับให้กับภาพ เช่น ความนูน ความโค้ง ความลึก ความเอียง โดยการใช้แสง และ เงา

Outer Glow =  
การเพิ่มแสงให้กับภาพ ลักษณะของแสงจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายนอกของภาพ
Inner Glow =  การเพิ่มแสงให้กับภาพ ลักษณะของแสงจะเป็นการเพิ่มกับส่วนภายในของภาพ

Color Overlay = 
การเพิ่มสีให้กับภาพ
Gradient Overlay = การเพิ่ม Gradient ให้กับภาพ
Pattern Overlay = การเพิ่ม Pattern ให้กับภาพ

Stroke = 
การเพิ่มเส้นขอบให้กับภาพ
Satin = การเพิ่มลวดลายให้กับภาพ


กลุ่มหลักของ Layer Style สามารถแบ่งจากการทำงานได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสำหรับการเติมแสง กลุ่มสำหรับการเติมเงา กลุ่มสำหรับการเติมแสงและเงา กลุ่มสำหรับการเติมสี Pattern Gradient และ กลุ่มสำหรับการเติมรูปร่าง
กลุ่มสำหรับการเติมแสง = Outter Glow, Inner Glow
กลุ่มสำหรับการเติมเงา = Inner Shadow, Drop Shadow, 
กลุ่มสำหรับการเติมแสงและเงา Bevel and Emboss
กลุ่มสำหรับการเติมสี Pattern Gradient = Color Overlay, Gradient Overlay, Pattern Overlay
กลุ่มสำหรับการเติมรูปร่าง รูปทรง = Stroke, Satin
การเรียกใช้เครื่องมือ Layer Style ทำได้โดยการคลิกทีตัวอักษร fx ที่แสดงอยู่ด้านล่างของ Layer Panel (การใช้ครั้งแรก) ถ้าเลเยอร์นั้นมีการใช้อยู่แล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ที่มีเครื่องหมาย fx ก็ได้เช่นกัน เลเยอร์ใหนทีมีการใช้ Layer Style จะมีตัวอักษณ fx แสดงอยู่ที่เลเยอร์

การคัดลอก Layer Style ทำได้โดยการกดปุ่ม Alt แล้วคลิกที่เครื่องหมาย fx จากนั้นลากไปวางบนเลเยอร์ที่ต้องการใช้ Layer Style ที่เหมือนกัน หรือจะทำโดย คลิกขวาที่เลเยอร์ที่เราจะทำการคัดลอก เลือก Copy Layer Style แล้วไปคลิกขวาเลเยอร์ที่ต้องการใช้ เลือก Paste Layer Style

การลบ หรือ ยกเลิก Layer Style ทำโดยคลิกลากเครื่องหมาย fx มาที่รูปถัง หรือ คลิกขวาแล้วเลือก Clear Layer Style

การเปลี่ยน Layer Style ให้เป็น Layer Panel ทำโดยคลิกขวาที่เครื่องหมาย fx หรือที่ตัวเลเยอร์ แล้วเลือก Clear Layer Style (ควรจะ Copy Layer Style นั้นเก็บสำรองไว้ก่อน กันไว้กรณีที่ต้องการนำกลับมาใช้อีก)

การย่อ หรือ ขยาย Layer Style Panel  เลเยอร์ที่มีการใช้ Layer Style ยิ่งถ้ามีการใช้หลายแบบ ก็จะทำให้เลเยอร์นั้นกินพื้นที่ใน Layer Panel มาก เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่การทำงาน มีวิธีที่จะทำการ ย่อ หรือ ขยาย Panel โดยคลิกที่ลูกศรซึ่งอยู่ถัดจากเครื่องหมาย fx คลิกลูกศรหงายขึ้น จะเป็นการย่อ คลิกลูกศรหงายลง จะเป็นการขยาย (ถ้าต้องการย่อ หรือ ขยายทุก Layer Style Panel ครั้งเดียวพร้อมกัน ให้กดปุ่ม Alt ก่อนคลิกลูกศร และถ้าต้องการให้ Group of Layer Style Panel ทุก Group ย่อหรือขยายในครั้งเดียว   ให้กดปุ่ม Ctrl ก่อนคลิก)



การเปลี่ยนรูปทรง Transformations 
วิธีนี้คือการเปลี่ยนแปลงรูปทรงให้เกิดกับสิ่งต่างๆ เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ รูปทรง ต่างๆ โดยใช้เครื่องมือ Transform หรือ Free Transform วิธีเรียกใช้โดยโปรแกรมเมนู เลือก Edit เลือก Free Transform หรือ คีย์ลัด Ctrl + T หรือ Transform แต่ขอแนะนำให้ใช้ Free Transform จะสะดวกกว่า เพราะสามารถใช้คีย์ลัดในการเรียกเครื่องมือได้เลย ถ้าต้องการใช้เครื่องมือย่อยของ Free Transform ก็เพียงคลิกขวาหลังจากเรียกใช้เครื่องมือ Photoshop CS6 เวอร์ชั่นนี้มีเมนู Interpolation เพิ่มขึ้น ใช้สำหรับช่วยให้ทุกครั้งที่มีการ Transform วัตถุนั้นจะได้คุณภาพที่เหมาะสมที่สุด ค่าเริ่มต้นของ Interpolation จะกำหนดอยู่ที่ Bucubic Automatic




การปรับขนาดของภาพ Scale เมื่อเลือกเครื่องมือแล้ว ให้ลากที่มุมใดมุมหนึ่ง หรือจะใช้วิธีการปรับ W / H ที่แถบควบคุมเครื่องมือก็ได้

การใช้คำสั่งทำซ้ำ Again เป็นการทำซ้ำคำสั่งเดิมที่มีการ Transform ที่ใช้ก่อนหน้า โดยใช้คำสั่งคีย์ลัด Ctrl + Shift + T หรือใช้โปรแกรมเมนู Edit เลือก Transform เลือก Again

การใช้คำสั่งทำซ้ำพร้อมกับคัดลอก Scale and Dupplicate เหมือนกับการใช้คำสั่งทำซ้ำ แต่ผสมด้วยการคัดลอก วิธีทำโดยใช้คำสั่งคีย์ลัด Ctrl + Alt + Shift + T

การปรับหมุน Rotate ให้นำเม้าส์ไว้ที่ด้านนอกของกรอบ Transform เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรโค้ง เมื่อเลื่อนซ้าย หรือขวา ก็จะปรับหมุนตามทิศทางของเม้าส์ สำหรับเครื่องหมายที่อยู่ตรงกลาง สามารถคลิกเพื่อเลื่อนไปไว้ตรงส่วนใหนของกรอบ Transform ก็ได้ จะเป็นการย้ายตำแหน่งการปรับหมุนของกรอบ Transform




การบิด Warp เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการทำ Transform บางครั้งมีความจำเป็นต้องทำการบิดภาพเพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ และเพื่อความสวยงาม วิธีใช้เครื่องมือโดย เมื่อเลือกเครื่องมือ Transform แล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Warp หรือจะกดไอคอน Warp บนแถบควบคุมเครื่องมือซึ่งอยู่ก่อนเครื่องหมายยกเลิกการทำ Transform ก็ได้ เมื่อคลิกที่ไอคอนแล้ว ให้คลิกที่ Warp Custom บนแถบควบคุมเครื่องมือ จะมีรายการทำ Warp ต่างๆ แสดงออกมา เลือกตัวที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีปรับเองตามที่ต้องการ โดยการคลิกที่มุมใด หรือ จุดใดก็ได้ แล้วทำการลากเพื่อให้ได้การบิดที่ต้องการ (ถ้าต้องการยกเลิกเครื่องมือ Warp ให้คลิกที่ไอคอน Warp อีกครั้ง หรือกดปุ่ม Esc)