วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คู่มือการใช้ Adobe Photoshop CS



คู่มือการใช้โปรแกรม

Adobe Photoshop CS




Adobe Photoshop CS คืออะไร

                Adobe Photoshop CS เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพประสิทธิภาพสูง เพื่อการทำงานระดับมาตรฐานสำหรับนักออกแบบมืออาชีพที่ต้องการสร้างสรรค์งานกราฟิกที่โดดเด่น ทั้งงานที่ใช้บนเว็บและงานสิ่งพิมพ์



พื้นที่การทำงาน (Work Area)

                Work Area หรือพื้นที่การทำงานของโปรแกรม Adobe Photoshop จะประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับการตกแต่งไฟล์ภาพต่าง ๆ ดังนี้

1.       Menu bar คือส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรม

2.       Toolbox คือส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างชิ้นงานหรือตกแต่งภาพ

3.       Tool options bar คือส่วนที่กำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่เลือกจาก Toolbox

4.       Palettes คือส่วนที่ใช้ตรวจสอบและกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ให้กับรูปภาพ

5.       Status bar คือส่วนที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของชิ้นงาน เช่น ขนาดของมุมมองรูปภาพ ขนาดของไฟล์ คำแนะนำการใช้งานของอุปกรณ์ที่เลือกจาก Toolbox


เครื่องมือต่างๆ (Toolbox)


หมายเหตุ ปุ่ม Toolbar ที่มีเครื่องหมายสามเหลี่ยมเล็กๆ อยู่ด้านล่างขวาเมื่อกดปุ่มสามเหลี่ยมดังกล่าวโปรแกรมจะแสดงเครื่องมืออื่นๆ ออกมาเช่น  

      Tool ที่น่าสนใจ



การใช้งาน Palettes

                Palettes คือ Dialog ที่ใช้ตรวจสอบและกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของรูปภาพ เช่น Palette ของ Navigator และ Info, Palette ของ Color, Swatches เป็นต้น
Palette ต่าง ๆ จะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ สำหรับการซ่อนหรือแสดง Palettes นั้นให้คลิกที่เมนูคำสั่ง Window จากนั้นเลือก Palette ที่ต้องการซ่อนหรือแสดง Palette ใดถูกเปิดใช้งานอยู่จะมีเครื่องหมายถูก
หน้า Palette 





Navigator Palette
Navigator Palette เป็น Palette ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนขนาดมุมมอง ที่จอภาพตามความเหมาะสม ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้



1.       Proxy Preview Area คือส่วนที่แสดงถึงขนาดของภาพในชิ้นงาน กรอบสีหมายถึงขนาดของชิ้นงาน หากกรอบของ Proxy Preview อยู่ริมสุดของภาพแสดงว่าภาพนั้นมีขนาดพอดีกับชิ้นงาน
2.       ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของภาพ คือส่วนที่ใช้กำหนดขนาดมุมมองของภาพ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ โดยค่าของขนาดภาพจริงจะเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์
3.       Zoom Out & Zoom In คือส่วนที่ใช้กำหนดขนาดมุมมองของภาพ ประกอบด้วยส่วนที่ใช้กำหนด 3 ส่วน คือ
3.1    Zoom Out คือส่วนที่อยู่ด้านซ้ายสุด ใช้สำหรับย่อขนาดมุมมองของภาพให้เล็กลง
3.2    Zoom In คือส่วนที่อยู่ด้านซ้ายสุด ใช้สำหรับขยายขนาดมุมมองของภาพให้ใหญ่ขึ้น
3.3    Zoom Slider คือส่วนที่เป็นแถบเลื่อน หากเลื่อนทางด้านซ้ายจะย่อขนาดมุมมองของภาพให้เล็กลง แต่หากเลื่อนมาทางขวาจะขยายขนาดมุมมองของภาพให้ใหญ่ขึ้น

Color Palette
                Color Palette คือ Palette ที่ทำหน้าที่เป็นจานสี ซึ่ง Mode สีที่ปรากฏในภาพจะเป็นลักษณะการผสมใน Mode RGB มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.       Set foreground color คือส่วนแสดงสีของ foreground
2.       Set background color คือส่วนแสดงสีของ background
3.       RGB slider คือส่วนที่ใช้กำหนดค่าของการผสมสีใน Mode RGB ซึ่งสามารถเลื่อนเพื่อปรับค่าสีได้จากแถบ slide หรือระบุเป็นตัวเลข (0-255) เช่น สีดำ คือ R=0,G=0, B=
4.       Sample color คือส่วนสำหรับกำหนดค่าสีในลักษณะจุ่มเลือกสี

Swatches Palette
    Swatches Palette คือ Palette ที่ทำหน้าที่สำหรับเก็บสีหลักๆ ที่นิยมใชสามารถเลือกนำมาใช้ได้ทันทีและถ้าหากว่าคุณมีสีที่ต้องการใช้เป็นประจำ สามารถบันทึกสีนั้นไว้ใน Palette นี้ได้การบันทึกสีที่ต้องการไว้ที่ Swatches Palette สามารถทำได้โดยเลือกสีที่ต้องการ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่มบันทึกสีใหม่ที่ Swatches Palette จะสามารถบันทึกสีที่ต้องการได้

Styles Palette
                                Styles Palette คือ Palette ที่มีไว้สำหรับเก็บลวดลายอย่างลวดเร็ว สามารถเลือกลวดลายจาก Palette นี้ไปใช้ในภาพ จะทำให้ภาพที่คุณวาดไว้เปลี่ยนไปตามลวดลายที่เลือกไว้ทันที และยังสามารถสร้างลวดลายให้ขึ้นมาเองได้ด้วย
การใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยเลือกที่ Layer ที่ต้องการจะทำ Style แล้วคลิกเลือกที่ Style บน Styles Palette จากนั้น Layer จะเปลี่ยนตาม Style นั้นๆ


History Palette
                                History Palette เป็น Palette ที่แสดงขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ทำงานกับไฟล์ภาพตามลำดับโดยสามารถย้อนกลับไปยังการทำงานต่าง ๆ ในลำดับชั้นและยกเลิกได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                1. ส่วนที่ใช้กำหนดข้อมูลของการใช้ History Brush Tool
                2. เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของงานที่ทำตามลำดับ
                3. History State เป็นลำดับขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ที่ได้กระทำลงไป
                4. History State Slider คือส่วนชี้ว่าขณะนี้อยู่ที่ลำดับใด
                5. New Document คือส่วนที่ใช้สร้างกระดาษทำการใหม่ โดยคัดลอกภาพจากลำดับที่ชี้อยู่
                6. New Snapshot คือส่วนที่ใช้สร้าง Snapshot ใหม่
                7. Trash Button คือส่วนที่ใช้ลบขั้นตอนการทำงานกับไฟล์ภาพในลำดับที่เลือกอยู่ออก



Layer Palette
                Layer Palette เป็น Palette ที่เก็บชิ้นงานหรือภาพทั้งหมด เรียกว่า Layer ซึ่งจะเรียงลำดับก่อนหลัง ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการแก้ไขโดยไม่เกิดผลกระทบกับชิ้นงานหรือภาพอื่น ๆ โดยจะแก้ไขเฉพาะชิ้นงานหรือภาพใน Layer ที่เลือกเท่านั้น ส่วนประกอบของ Layer Palette มีดังนี้
1.       Indicates Layer Visibility  คือส่วนที่กำหนดการแสดงผลของ Layer หากมีสัญลักษณ์รูปตาแสดงว่าภาพที่อยู่ใน Layer ดังกล่าวถูกแสดงบน Work Area หากไม่มีแสดงว่า Layer นั้นถูกซ่อนหรือไม่แสดงผล
2.       Indicates if Layer is Linked คือส่วนที่แสดงว่า Layer ใดกำลังถูกทำงาน Layer นั้น จะมีสัญลักษณ์รูปพู่กัน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดให้ Layer อื่นเลื่อนตำแหน่งตาม Layer ที่กำลังทำงานอยู่ได้โดยการคลิกให้ Layer อื่นเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์รูปโซ่
3.       Add a Layer Style คือส่วนที่ใช้ใส่ Effect เช่น แสง เงา ต่าง ๆ ให้กับภาพใน Layer
4.       Add a mask คือส่วนที่ใช้เพิ่ม Mask หรือเพิ่ม 1 Layer ซ้อนทับ Layer ที่กำลังทำงานอยู่ โดยทั้ง 2 จะถือเป็น Layer เดียวกัน
5.       Create a new set คือส่วนที่ใช้สร้าง Folder สำหรับเก็บ Layer ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
6.       Create new fill or adjustment layer คือส่วนที่ใช้ปรับค่าสี ความคมชัด แสงและความสว่างในแบบต่าง ๆ ของภาพใน Layer
7.       Create a new layer คือส่วนที่ใช้สร้าง Layer ใหม่
8.       Delete layer คือส่วนที่ใช้ลบ Layer
9.       Layer Thumbnail คือส่วนที่แสดงว่า Layer นั้นมีภาพใดอยู่
10.    Lock คือส่วนที่ใช้ Lock ในรูปแบบต่างๆ
11.    Opacity คือส่วนที่ใช้ทำให้ Layer นั้นโปร่งใส  (ทั้ง Fill และ Effect)
12.    Fill คือส่วนที่ใช้ทำให้ เฉพาะ Fill ใน Layer นั้นโปร่งใส ซึ่งไม่รวม Effect ที่ Layer นั้นมีอยู่

หมายเหตุ:         แถบสีน้ำเงินแสดงว่ากำลังทำงานกับ Layer 2
การจัดลำดับ Layer สามารถทำได้โดยนำเมาส์คลิกค้างไว้ที่ Layer แล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ หรือใช้เมนูคำสั่ง Layer -> Arrange
·         Bring to Front คือ ส่ง Layer ไปยังตำแหน่งบนสุดของทุก Layer
·         Bring Forward คือ ส่ง Layer ขึ้นไปตำแหน่งบน 1 ขั้น
·         Send Backward คือ ส่ง Layer ลงไปตำแหน่งล่าง 1 ขั้น
·         Send to Back คือ ส่ง Layer ลงไปตำแหน่งล่างสุดของทุก Layer แต่ยกเว้น Background Layer


           การเปิดไฟล์ภาพ (Open)
1.       คลิกที่เมนูคำสั่ง File ที่แถบ Menu bar จากนั้นเลือกคำสั่ง Open


2.       จะปรากฏ Dialog แสดงรายชื่อไฟล์ต่าง ๆ ดังภาพ เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการเปิดมาใช้งาน


3.       คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการเปิดใช้งาน จากนั้นคลิกปุ่ม Open

การสร้างไฟล์ใหม่ (New)
        1.       คลิกที่เมนูคำสั่ง File ที่แถบ Menu bar จากนั้นเลือกคำสั่ง New

            2.       จะปรากฏ Dialog สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของไฟล์ภาพดังนี้

-          Name คือ ชื่อของชิ้นงาน สามารถกำหนดใหม่เองได้ ชื่อนี้จะไประบุที่ชื่อไฟล์ต่อไป
-          Preset คือ ขนาดงานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ ซึ่งมีหลากหลายขนาดให้เลือก หรือสามารถกำหนดเองจากช่อง Width และ Height ได้
-          Width คือ ขนาดความกว้างของงาน (จากซ้ายไปขวา) โดยกำหนดหน่วยและขนาดได้เอง จากรูป คือ 1024 Pixels
-          Height คือ ขนาดความกว้างของงาน (จากบนลงล่าง) โดยกำหนดหน่วยและขนาดได้เอง จากรูป คือ 768 Pixels
-          Resolution คือ ความละเอียดของภาพ โดยใส่ตัวเลขค่าความละเอียดของภาพ เช่น งานเว็บหรือรูปที่แสดงบนคอมพิวเตอร์เท่ากับ 72 pixels/inch งานสิ่งพิมพ์เท่ากับ 150-200 pixels/inch
-          Color Mode คือ โหมดสีของภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย โหมดสี Bitmap, Grayscale,
RGB Color, CMYK Color, Lab Color 
-          Background Contents คือ สีพื้นหลังของภาพ เมื่อเริ่มชิ้นงานใหม่ มีดังนี้
·        White กำหนดให้สีพื้นหลังเป็นสีขาว
·        Background Color กำหนดให้สีพื้นหลังเป็นสีเดียวกับ Background
·        Transparent ไม่มีพื้นหลัง
1.       หลังจากกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มชิ้นงานใหม่
การบันทึกข้อมูลลงบนไฟล์ (Save)
หลังจากตกแต่งไฟล์ภาพเรียบร้อย จะต้องเก็บบันทึกข้อมูลลงบนไฟล์ (Save) สำหรับการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป โปรแกรมมีการบันทึกข้อมูลลงบนไฟล์ (Save) อยู่ 3 ลักษณะ คือ
-          Save บันทึกไฟล์ในรูปแบบ (Format) ปกติ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ (Format) ของ PSD
-          Save As บันทึกไฟล์ในรูปแบบ (Format) อื่น ๆ ได้ เช่น JPEG, BMP, GIF เป็นต้น
-          Save for Web บันทึกไฟล์ในรูปแบบ (Format) สำหรับการใช้งานบนเว็บ เช่น      ไฟล์ Html และไฟล์รูปภาพ JPEG, GIF, PGN เป็นต้น
        ในที่นี่เป็นแสดงการใช้งานของ Save และ Save As
1.       คลิกที่เมนูคำสั่ง File ที่แถบ Menu bar จากนั้นเลือกคำสั่ง Save หรือ Save As

     2.       จะปรากฏ Dialog สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของไฟล์ภาพดังนี้

-          ชื่อไฟล์ (File Name)
-          รูปแบบของไฟล์ (Format)
-          กำหนดคุณสมบัติของการบันทึกไฟล์ (Save Options)
·        As a Copy บันทึกไฟล์เป็นชื่ออื่น รูปแบบ (Format) อื่น ขณะที่ไฟล์เดิมกำลังเปิด ใช้งาน
·        Layers จะเก็บคุณสมบัติของ Layer ต่าง ๆ
·        Use Proof setup เก็บค่าโหมดสีที่จะใช้แสดงสีของภาพก่อนจะพิมพ์
·        Thumbnail กำหนดให้ไฟล์ที่บันทึก (Save) สามารถแสดงภาพตัวอย่างใน Dialog     ของการเปิดไฟล์
·        Use Lower Case Extension กำหนดให้นามสกุลไฟล์เป็นอักษรตัวเล็ก
3.       หลังจากกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ให้คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูลลงบนไฟล์

การกำหนดพื้นที่ เพื่อแก้ไขและตกแต่งภาพ (Selection)

              Marquee Tool เป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนด Selection โดยคลิกเลือก Marquee Tool    จาก Tool box จะมีให้เลือกใช้งาน 4 รูปแบบตามความเหมาะสม

วิธีการใช้งาน Marquee Tool
1.     ให้คลิกที่ Marquee Tool บน Tool Box หรือหากต้องการเลือกรูปแบบอื่นของ Marquee Tool ให้คลิกเมาส์ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการสร้าง Selection
2.     วางตำแหน่งของ Cursor  รูป เพื่อกำหนดจุดเริ่มสำหรับการสร้าง Selection
ให้คลิกเมาส์ค้างไว้และลากเพื่อกำหนดขนาดของพื้นที่ที่ต้องการ แล้วปล่อยเมาส์ จะปรากฏเส้นประของ Selection ดังภาพ


Marquee options

เมื่อคลิกเลือกใช้งาน Marquee Tool ที่ Tool options bar เราจะสามารถกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Marquee tool ได้ดังนี้




                                 1.       การแก้ไข Selection จะมีให้เลือก 4 รูปแบบคือการกำหนดเลือก Selection ใหม่ การเพิ่ม ตัดและลด Selection และการสร้าง Selection ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
เมื่อคลิกเมาส์จะเป็นการสร้าง Selection ขึ้นใหม่
สร้าง Selection เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ Selection ก่อนหน้าจะไม่หายไป แต่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน
ลบพื้นที่ของ Selection ออกจาก Selection ก่อนหน้า
           เป็นการสร้าง Selection ใหม่ในพื้นที่ Selection เดิม ด้วยวิธี Intersect จากพื้นที่ Selection ที่  กำหนดใหม่และ Selection ก่อนหน้า ที่มีพื้นที่เดียวกัน

    2.       Feather กำหนดความฟุ้งเบลอของขอบ Selection ภาพ มีค่าตั้งแต่ 1 – 250 หากกำหนดค่ามากความฟุ้งเบลอจะมากตาม

 1.       Style ของ Marquee Options มี 3 รูปแบบคือ
·        Normal เลือกขนาดอิสระ ขนาดของ Selection จะเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนตำแหน่งเมาส์
·        Constrained Aspect Ratio  กำหนดขนาดของ Selection โดยยืดหยุ่นตามอัตราส่วนของความกว้าง
(Width) และความสูง (Height)
·        Fixed Size กำหนดขนาดของ Selection ตามอัตราส่วนของความกว้าง (Width) และความสูง     (Height) ที่แน่นอน      
2.       Width การกำหนดความกว้างของ Selection
3.       Height การกำหนดความสูงของ Selection
4.    Width การกำหนดความกว้างของ Selection
5.      Height การกำหนดความสูงของ Selection


วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Photoshop cs คือ อะไร

                                             adobe Photoshop cs  คือ อะไร ???

adobe photoshop cs เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมเครื่องมือ ที่ใช้ตกแต่งรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อการทำงานระดับมาตราฐานสำหรับนักออกแบบมืออาชีพที่ต้องการสร้างสรรค์งานกราฟิกที่โดดเด่น
ทั้งงานที่ใช้ทำเ้ว็บและงานสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ได้อย่างดีเยี่ยม


โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมสร้างและแก้ไขรูปภาพอย่างมืออาชีพโดยเฉพาะนักออกแบบในทุกวงกาย่อมรู้จักโปรแกรมตัวนี้ดี โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องมือมากมายเพื่อสนับสนุนการสร้างงานประเภทสิ่งพิมพ์ งานวิดีทัศน์ งานนำเสนอ งานมัลติมีเดีย ตลอดจนงานออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ในชุดโปรแกรม Adobe Photoshopจะประกอบด้วยโปรแกรมสองตัวได้แก่ Photoshop และ ImageReady การที่จะใช้งานโปรแกรม Photoshopคุณต้องมีเครื่องที่มีความสามารถสูงพอควร มีความเร็วในการประมวลผล และมีหน่วยความจำที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นการสร้างงานของคุณคงไม่สนุกแน่ เพราะการทำงานจะช้าและมีปัญหาตามมามากมาย ขณะนี้โปรแกรม Photoshop ได้พัฒนามาถึงรุ่น Adobe Photoshop CS