วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้โปรแกรม Photoshop CS2

การใช้โปรแกรม Photoshop CS2

ลักษณะเด่นของ Photoshop

1. Photoshop ทำงานเป็น Layer
ลักษณะการทำงานของ Photoshop จะเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนๆ กัน โดยแต่ละแผ่นจะมีการทำงาน
ต่างกัน แต่เมือรวมกันแล้วจะเป็นแค่ภาพภาพเดียว แต่ละแผ่นใส(Layer) สามารถสลับไปมาได้




2. รูปแบบคำสั่งเป็นแบบ Interface Enhancement ไอคอนและปุ่มคำสั่งต่างๆ จะอยู่ในรูปแบบของ
Toolbox , Toolbar และ Dialog Box ซึงจัดไว้เป็นหมวดหมู่ โดยคลิกเพือใช้งาน และจะมีการตอบโต้
การใช้งานเป็นแบบ 3 มิติ คือ เมื่อคลิกปุ่มจะยุบลงไป


3. สนับสนุนการทำการบนเว็บไซต์
เนื่องจากไฟล์ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์มีหลายประเภท และโปรแกรม Photoshop สามารถ สร้างภาพที่ใช้
งานบนเว็บไซต์ได้หลากหลาย

เตรียมเครื่องให้พร้อมก่อนใช้งาน
สำหรับเครื่อง PC
- ระบบปฏิบัติการ Windows XP , Windows Vista , Windows 7
- CPU เพนเทียม III ขึ้นไป แรม1 28 mb เป็นอย่างน้อย
- การ์ดจอที่แสดงสีได้ระดับ 16 bit ขึ้นไป
- ควรใช้ จอภาพที่แสดงผลด้วยความละเอียด 800*600 ขึ่นไป
- CD Rom สำหรับอ่านแผ่น CD
เริ่มต้นใช้งาน Photoshop CS2
1. วิธีการเข้าสู่โปรแกรม Photoshop Cs2 คลิกที่ไอคอนโปรแกรมดังรูป


(ดับเบิ้ลคลิก ที่ไอคอนดังรูปเพื่ิอเข้าโปรแกรมPhotoshop Cs2)

2. หน้าตาของโปรแกรม Photoshop CS2



Panel คืออะไร
panel เป็นแถบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน เช่น panel Layer ,
History และ Navigator ซึ่ง panel ที่จำเป็นในการใช้งาน จะมีดังนี้
1. Navigator ใช้สำหรับขยายมุมมองการทำงานของพื้นที่การทำงาน
2. History ใช้สำหรับ การย้อนกลับการกระทำต่างๆ เมื่อผิดพลาด
3. Layer ใช้สำหรับการสร้างและลบ layer ต่างๆ
วิธีการเปิด/ปิด Panel
สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Windows > แล้วเลือก Panel ที่ต้องการใช้



ชนิดไฟล์ในโปรแกรม Photoshop
.psd (Photoshop File) : เป็นไฟล์พื่นฐานของโปรแกรม Photoshop สามารถเก็บบันทึกข้อมูล
คุณลักษณะต่างๆ ที่ใช้ใน Photoshop ไม่ว่าจะเป็น Layer , สี หรือ Effect ต่างๆ
.bmp (Bitmap file) : เป็นไฟล์พื้นฐานของ Windows
.gif (Graphic Interchange) : เป็นไฟล์ที่ใช้กันมากบนอินเตอร์เน็ต เพราะง่ายต่อการบีบอัดข้อมูล เพราะ มีขนาดเล็ก
.jpg (Joint Photographic experts Group) : เป็นไฟล์นิยมใช้บนอินเตอร์เน็ตเช่นกันจะแตกต่างกันที่ไฟล์นี่จะ
มีความละเอียดของภาพค่อนข้างชัดเจน

การเปิดไฟล์
การเรียกไฟล์ภาพหรือไฟล์ psd นำขึ่้นมาใช้สามารถทำได้โดย ไปที่เมนู File > Open หรือคีย์ลัด Ctrl+O



การเปิดไฟล์ก่อนหน้านี้ด้วยคำสั่ง  Open Recent
ไปที่เมนู File>Open Recent แล้วเลือกไฟล์ที่เคยเปิดไว้อยู่แล้วได้จากคำสั่งนี้





การสร้างภาพใหม่
นอกจากการนำภาพมาใช้งานแล้วเราสามารถสร้างภาพขึ้นมาให้ด้วยพื้นที่การทำงานที่เราสร้างได้เอง
ด้วย โดยการไปที่เมนู File>New หรือคีย์ลัด Ctrl+N


รายละเอียดการกำหนดขนาดพื้นที่ใหม่




การบันทึกไฟล์
การบันทึกไฟล์ของ Photoshop มีสองแบบคือ บันทึกเพื่อนำมาแก้ไขได้ภายหลัง และบันทึกนำไปใช้งา
นบเว็บไซต์
1. การบันทึกงานเพื่อนำมาแก้ไขภายหลัง สามารถทำได้โดย ไปที่เมนู File>save as…



2. วิธีการเซฟนำไปใช้บนเว็บไซต์ สามารถทำได้โดย การไปที่เมนู File > Save for Web


จะปรากฏแถบข้อมูลการ Save for Web


** การเลือกประเภทไฟล์ในช่อง preset นั้นขึ้นอยู่กับงานี่จะนำไปใช้


การใช้เครื่องมือ Selection (Marquee Tool)
ใช้ในการเลือกส่วนของรูปภาพเพื่อการคัดลอกหรือใส่  effect   ต่างๆ ให้กับส่วนที่เลือก และมักใช้กับ
คำสั่ง Copy , Cut ,Delและ คำสั่ง paste




การใช้เครื่องมือ Selection (Lasso Tool)
เป็นการเลือกส่วนของรูปภาพเช่นกัน แต่จะเป็นการเลือกแบบอิสระสามารถกำหนดส่วนที่เลือกได้เอง




การใช้เครื่องมือ Magic wand tool



เป็นการ Selection โดยอาศัยค่าสีที่ใกล้เคียงกัน โดยโปรแกรมจะเลือกสีที่่มีความคล้ายกับสีที่เลือก

การใช้เครื่องมือในการระบายสีหรือแก้ไขภาพ

Healing Brush Tool

ใช้เกลี่ยรอยต่างๆ โดยจะทำการรักษาโทนสี ความสว่างให้ใกล้เคียงกับของเดิมอัตโนมัติ เวลาใช้ต้องกด
ปุ่มA lt ร่วมด้วย




การใช้ Brush Tool




การใช้เครื่องมือในการคัดลอก

Clone Stamp Tool


เป็นการใช้เพื่อการคัดลอกบางส่วนของภาพให้เหมือนต้นฉบับเดิม ต้องกดปุ่มA lt ร่วมด้วย




                         ก่อนใช้ Clone Stamp                                              หลังใช้ Clone Stamp


การใช้ Paint Bucket Tool

ใช้สำหรับการเติมสีลงวัตถุที่่ต้องการ



การลบวัตถุด้วย Eraser Tool

ใช้ในการลบวัตถุที่ต้องการ





                       ก่อนใช้ Eraser Tool                                                          หลังใช้ Eraser Tool



เครื่องมือในการพิมพ์ตัวอักษร
สามารถพิมพ์ข้อความหรือตัวอักษรได้ จาก Type Tool





































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น